วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 11 Computer Security and Safety, Ethics, and Privacy

                 ในบทนี้จะกล่าวถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์และข้อมูล รูปแบบของความเสี่ยงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปของอุบัติเหตุหรือความตั้งใจ หรือเกิดจากความตั้งใจของบุคคลหรือกลุ่มคน เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะเรียกว่า อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ปัญหาหลักที่พบเจอบ่อยๆ มาจาก ภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดการสูญเสียของระบบ และปัญหาเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า

..ประเภทต่างๆของการคุกคามทางคอมพิวเตอร์..

Virus
แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยไฟล์พาหะTrojan

Trojan 
ไม่สามารถกระจายตัวเองและแพร่เชื้อไปสู่ไฟล์ได้ด้วยตัวมันเอง เป็นโปรแกรมที่พบว่าเป็นประโยชน์หรือมีอันตรายน้อยแต่ได้ซ่อนโค้ดที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเสียหายและสำรวจข้อมูลในระบบที่กำลังทำงานอยู่

Spyware
ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรืออาศัยช่องโหว่ของ web browser

Spam
สแปมเมล (Spam mail) หรือที่เรียกว่าอีเมลขยะ หรือ Junk Mail คืออีเมลที่ถูกส่งไปหาผู้รับ โดยที่ผู้รับไม่พึงประสงค์ Spam Mail ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการโฆษณา ต่าง ๆ

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 7 Storage


                ในบทนี้จะกล่าวถึง การเก็บข้อมูล เช่น ภาพ เสียง วีดีโอ สำหรับไว้ใช้เมื่อต้องการ  ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบใดเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูล  โดยบทนี้จะกล่าวถึง Storage media หรือสื่อบันทึกหรือจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า "หน่วยความจำสำรอง" ซึ่งแบ่งได้ 2 ระบบคือ หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เป็นหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เอง และ หน่วยความจำรอง (Secondary Storage) เป็นหน่วยความจำภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น  แผ่นดิสก์, เทป, ฮาร์ดดิสก์, แผ่นซีดี, แผ่นดีวีดี  ส่วนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงไปในสื่อบันทึกข้อมูล เราเรียกว่า “อุปกรณ์บันทึกข้อมูล” (Storage Device) เช่นดิสก์ไดร์ฟ , เทปไดร์ฟ

==หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง==

เทปแม่เหล็ก
          ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่ เปลี่ยนจากการเล่น และบันทึกเป็นการอ่านและเขียนแทน

ฮาร์ดดิสก์
         ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็ง เรียกว่า platters ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ประกอบด้วยจานแม่เหล็กหลาย ๆแผ่น และสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก โดยที่ทุกแทรก (track) และเซกเตอร์ (sector) ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเตอร์ (cylinder)

ดีวีดี
       เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมสูงสุด  ข้อกำหนดของดีวีดีจะสามารถมีความจุได้ตั้งแต่ 4.7 GM ถึง 17 GM และมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที

Chapter 5 Input



                 ในบทนี้จะกล่าวถึง Input ซึ่งเป็นหน่วยที่รับข้อมูลเข้ามาจากภายนอกเพื่อใช้ในการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง หรือ วีดีโอ อุปกรณ์รับข้อมูลเป็นองค์ประกอบหนึ่งของฮาร์ดแวร์ โดยผู้ใช้จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยบทนี้จะอธิบายหลากหลายเทคนิคในการใช้อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด,เมาส์,ปากกาแสง, ไมโครโฟน , สแกนเนอร์ , กล้องดิจิทัล, แผ่นสัมผัส, จอยสติก, จอสัมผัส,  เครื่องเทอร์มินัล, เครื่องอ่านพิกัด เป็นต้น    รวมไปถึงอุปกรณ์รับข้อมูลอื่นๆ สำหรับผู้พิการทางร่างกาย

==อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล==

-  จอยสติก    มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer
-  คีย์บอร์ด    จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด 
-  เมาส์          ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้บนหน้าจอ โดยการขยับ รับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่ม
- จอสัมผัส     จอสัมผัส เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output ใช้นิ้วมือสัมผัสบนหน้าจอ 
- Touch screen   จอสัมผัส เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output ใช้นิ้วมือสัมผัสบนหน้าจอ
- Pointing stick   วางอยู่กึ่งกลางคีย์บอร์ดใช้การหมุนเพื่อควบคุม ทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer 

Chapter 4 The Components of the System Unit



              ในบทนี้จะกล่าวถึง หน่วยระบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ใช้ในการประมวลผลข้อมูล บางครั้งอาจเรียกได้ว่าตู้ระบบ หรือ แชสซึ บรรจุส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก  ซึ่งทำมาจากโลหะ หรือ พลาสติก หน่วยระบบเป็นที่อยู่ของส่วนประกอบหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  ชนิดของหน่วยระบบ
                     - แบบเดสก์ทอป (Desktop)
                     - แบบโน๊ตบุ๊ค( Notebook)
                     - แบบพีดีเอ (Personal Digital Assistant
               นอกจากนี้จะกล่าวถึง การเก็บข้อมูลของหน่วยความจำ และลำดับการทำงาน มีการเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในสังคมปัจจุบัน และวิธีการทำความสะอาดภายนอกและภายในของหน่วยระบบ

                

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 3 Application Software


                 ในบทนี้จะกล่าวถึง การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ให้ผู้ใช้สามารถสร้างรายงาน ออกแบบเว็บเพ็จ และแผนภาพ การบันทึกวีดีโอ รวมถึงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประกอบด้วยโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการได้  ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน และซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานทั่วไป

               ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่เป็นการตอบสนองงานด้านธุรกิจ เช่น ระบบอีคอมเมิร์ซ ระบบงานทะเบียน นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้ในด้านอื่นๆอีกมายมาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน คือ

              - โปรแกรมทางด้าน Word Processor 
              - โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet 
              - โปรแกรมทางด้าน Database
              - โปรแกรมทางด้าน Graphic
              - โปรแกรมเกม ( Game)
              - โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง
              - โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร
              - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

Chapter 1 Introduction to Computer


                                
               ในบทนี้จะกล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถประมวลผลข้อมูล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้  จากนั้นจะกล่าวถึงประเภทของคอมพิวเตอร์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทราบว่า คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ แต่ประสิทธิภาพและความสามารถกลับมีมากขึ้น การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลข้อมูลได้ จะต้องอาศัยทั้งฮาร์ดแวร์ และซอต์ฟแวร์ ควบคู่กันไป  ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เราจับต้องได้ และมองเห็น แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ส่วนรับข้อมูล ส่วนแสดงผล ส่วนประมวลผลข้อมูล หน่วยความจำ ส่วนซอต์ฟแวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ทำงานทีละขั้นเพื่อควบคุมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่เราต้องการ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

         ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและ อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

         ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

Chapter 2 The Internet and World Wide Web

                เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึง อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ โดยใช้โปรโตคอลเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเหมือนเส้นใยแมงมุม หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "เวิลด์ไวด์เว็บ"  จากนั้นจะกล่าวถึงความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตตั้งแต่เริ่มแรกจนมาถึงยุคปัจจุบัน ในกรณีที่ผู้ใช้งานตามบ้านเรือนต้องการที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องติดตั้ง"เว็บบราวเซอร์"ไว้สำหรับค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลต่างๆบนเว็บเพ็จ เมื่อมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีการกำหนดหมาย  IP Address ขึ้นมา  ซึ่งเป็นหมายเลขที่กำหนดเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดยที่ไม่ซ้ำกันเลย ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มี Domain Name Server เป็นการใช้ชื่อเฉพาะเพื่ออ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ ส่วน "เวิลด์ไวด์เว็บ" เป็นบริการทางอินเทอร์เน็ตที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ในการติดต่อสื่อสาร จะต้องใช้ Web Browser ในการแสดงข้อมูล หากต้องการหาข้อมูล ก็สามารถใช้บริการ Search Engine